พฤติกรรมการช้อปออนไลน์คือสิ่งที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ซึ่งปีนี้คือปีที่พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ เกิดจากทําเว็บ e-commerce ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด รวมถึงการจ่ายเงินที่หลากหลายและเข้าถึงมากขึ้น เช่น เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ต่างประเทศรับตัดเงินผ่านบัตรเครดิตมากขึ้นและส่งทั่วโลก จากแต่ก่อนที่จัดส่งแค่ประเทศตัวเอง อะไรเล็กน้อยแค่นี้แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ไปได้อย่างมหาศาล แล้วการเปลี่ยนไปนี้ ส่งผลอะไรกับนักการตลาดบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

  • รอช้อปวันเลขเบิ้ล

ถ้าถามว่าพฤติกรรมนี้เปลี่ยนไปช่วงไหนน่าจะเริ่มจากแคมเปญ 9.9 ที่ทำให้วงการช้อปออนไลน์ให้เปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนช้อปตอนไหนเวลาไหนก็ได้ มากสุดก็รอวันลดครึ่งปีสิ้นปี แต่ตอนนี้วันช้อป ลดพิเศษมีมาทุกเดือนแล้ว คือวันที่ 10.10, 11.11 และปลายปีคือ 12.12 ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือก่อนหน้าวันเหล่านี้ นักช้อปจะไม่ช้อปเลยแต่กดใส่ตะกร้าหรือส่องสินค้าเท่านั้น ถ้าแบรนด์ไหนน่าช้อปก็จะไปเช็คโปรโมชั่นและรอกดซื้อวันเลขเบิ้ล ส่วนร้านค้ายอดขายจะตกก่อนแล้ว มีพุ่งทะยานวันโปรพิเศษวันนั้น สิ่งที่เปลี่ยนคงเป็นการปรับตัวของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องผูกกับโปรโมชั่นช่วงนี้ หรือรับทำ e-commerce ชั้นนำเจ้าใหญ่ๆ

  • ทดลองหน้าร้าน แต่ซื้อออนไลน์

อีกพฤติกรรมที่น่าตกใจคือต่อให้ลูกค้าอยู่หน้าร้านก็ยังไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าทันที แต่กลับเลือกที่จะทดลองใช้งานหรือสวมใส่สินค้าก่อนแล้วค่อยไปกดซื้อที่ช่องทางออนไลน์เอา เพราะว่าช่องทางออนไลน์จะมีโปรโมชั่นพิเศษค่อนข้างเยอะและส่วนใหญ่ทีมการตลาดที่ดูแลลูกค้าหน้าร้านกับออนไลน์ จะแยกกันคนละทีม

ทำให้ราคาสินค้าอาจจะอยู่ในระดับที่ต่างกันได้ แล้วความรู้สึกของนักช้อปเองก็รู้สึกว่าการช้อปออนไลน์ถูกกว่าหน้าร้านอีก ทำให้หลายคนแม้จะนั่งอยู่หน้าร้าน แต่ก็ตัดสินใจไปซื้อออนไลน์ ดังนั้น หลายแบรนด์จึงแก้ปัญหานี้โดยการซื้อหน้าร้านได้ Gift set พิเศษ แต่ของแถมแบบนี้จะได้ผลดีกับสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ซะมากกว่า

  • ฝากช้อปดีกว่า

ไม่ใช่แค่ความไม่มีเวลา แต่ คนรับหิ้วจะเหมือนตัวแทนเราไปเช็คสินค้าว่ามีอะไรถูกบ้าง เผลอๆ ส่องเก่งกว่าเราไปช้อปเองที่หน้าร้านเสียอีก รวมทั้งเงินที่เสียเพิ่มก็ถูกกว่าเราไปเดินช้อปเองด้วย ทำให้เพจที่ให้ข้อมูลด้านโปรโมชั่นเติบโตมากในตอนนี้ สังเกตได้จากคอมเมนต์เพจเหล่านี้ว่าจะเจอนักรับหิ้วของเต็มไปหมด สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดพฤติกรรมการฝากช้อปมากขึ้น

  • ให้คุณค่ากับเงินดิจิทัล

เงินดิจิทัลนี้คือเงินที่อยู่ติดกับระบบ wallet ต่างๆ ที่จะเอา cashback กลับเข้าสู่ระบบให้คนยังใช้บริการช้อปสินค้าผ่านแอพนี้อยู่ สังเกตว่าเทรนด์นี้เริ่มมามากขึ้น จากแบรนด์ใหญ่ๆ ที่สร้าง wallet ของตัวเอง โดยผูกกับธนาคารชั้นนำเอาไว้ แต่ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า e-payment เจ้าไหนครองตลาดได้มากที่สุด แต่คาดว่าปีหน้าสงคราม e-Wallet เดือดแน่นอน

  • ตัดสินใจซื้อผ่าน Community

ตอนนี้กรุ๊ปสินค้าต่างๆ เริ่มแอคทีฟขึ้นมาก ถ้าเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าพวกเครื่องสำอางค์ กล้อง สินค้าไอที จะคึกคักกันที่สุด การตัดสินใจซื้อไม่ได้อยู่แค่ข้อมูลลูกค้าแล้ว แต่เป็นการรวมรีวิวปากต่อปากผ่านกรุ๊ป แล้วค่อยตัดสินใจไปซื้อ ทำให้ Community ของสินค้าประเภทต่างๆ เริ่มกระจายมากขึ้น หลายเพจปรับตัวโดยการสร้างกรุ๊ปเอง เช่น Jeban ขยายการพูดคุยไปอยู่ในกรุ๊ป รีวิวเครื่องสำอางค์ราคาแพง ให้คนประเภทเดียวกันมาเจอกันแล้วป้ายยากันเอง ความคุ้มค่าที่เปลี่ยนไปทำให้การช้อปของลูกค้าเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน แต่ทุกคนไม่ต้องกลัวไปนะคะ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ อยู่ที่การปรับตัวของเราที่ตามมาต่างหากที่ต้องกังวลว่าจะปรับตามกระแสทันหรือไม่ แต่นี่ล่ะคือเสน่ห์ของการค้าขายและธุรกิจ

 

ที่มา : thumbsup.in.th